โซลูชั่นการวิเคราะห์พื้นผิวความแน่นของข้าวและคุณลักษณะเฉพาะของข้าวหุง
ประเด็นสำคัญ
- วัตถุประสงค์ของการทดสอบเปรียบเทียบเพื่อวัดเนื้อสัมผัสของข้าวเมื่อถูกเคี้ยว เพื่อคัดแยกเกรดของข้าวและแนะนำให้กับทางผู้บริโภค
- วิธีการทดสอบที่ทำซ้ำได้และรวดเร็วเพื่อหาคุณลักษณะของข้าวและเวลาที่ใช้หุงโดยใช้เครื่องทดสอบเนื้อสัมผัสที่ควบคุมโดยซอฟต์แวร์
- หัวทดสอบใบมีด Kramer ตามมาตรฐาน ใช้ในการกดและฉือนผ่านตัวอย่างจำนวนมากเพื่อจำลองการเริ่มต้นเคี้ยวข้าว
- คุณลักษณะความแข็งของเนื้อสัมผัสสัมพันธ์กับความรู้สึกในปากขณะเคี้ยว โดยความแน่นของข้าวจะเป็นค่าที่นำไปใช้เป็นตัวกำหนดเวลาในการหุงข้าว
การทดสอบ
เนื้อสัมผัสของข้าวมีความสำคัญมากที่ทำให้ผู้บริโภครับรู้ได้ถึงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ น่าเสียดายที่เนื้อสัมผัสได้รับผลกระทบจากหลายปัจจัยในระหว่างกระบวนการผลิต สิ่งแรกที่ผู้ผลิตต้องกำหนด คือ คุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่รับเข้ามาตั้งแต่ จุดเริ่มต้น การปรับเปลี่ยนในระหว่างกระบวนการผลิตสามารถทำได้เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์สุดท้ายมีความคงที่ในด้านคุณภาพ
ปัญหา
เช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์ทางด้านอาหารส่วนใหญ่ การควบคุมเนื้อสัมผัสของข้าวต้องใช้การควบคุมการแปรรูปอย่างต่อเนื่องเพื่อผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่เพียงแต่มีความสม่ำเสมอเท่านั้น แต่ยังรวมถึงมาตรฐานคุณภาพอีกด้วย การเปลี่ยนแปลงของวัตถุดิบที่เข้ามามีความสำคัญอย่างยิ่งกับข้าว
พันธุ์ข้าวที่แตกต่างกันไปพร้อมกับความหลากหลายในการเก็บเกี่ยวสามารถส่งผลอย่างมากต่อระดับโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตในผลิตภัณฑ์ คุณลักษณะทั้งสองนี้มีผลอย่างมากต่อเนื้อสัมผัสของข้าวหุงสุก
วิธีแก้ไขปัญหา
ก่อนทำการทดสอบ ข้าวดิบถูกหุงด้วยวิธีมาตรฐาน สะเด็ดน้ำออกแล้วปล่อยให้เย็นในช่วงเวลาที่กำหนด จากนั้นทำการตัดข้าวใส่ลงใน เซลล์เฉือนใบมีดบาง CS-2 จนเต็มแต่ไม่แน่นจนเกินไป CS-2 cell ถูกออกแบบมาให้สามารถใช้กับใบมีด Kramer โดยความแตกต่างก็คือมีใบมีดมากกว่าและชิดกันมากยิ่งขึ้น ซึ่งการออกแบบนี้มีประโยชน์อย่างยิ่งเมื่อทำการทดสอบอนุภาคขนาดเล็ก เช่น ข้าว เนื่องจากชิ้นส่วนของข้าวมักจะถูกกดอัดและเฉือนจนตกผ่านร่องของ CS-2 cell
การทดสอบทั้งหมดดำเนินการโดยใช้เครื่องทดสอบเนื้อสัมผัส TM-2 Shear Press โดยกดลงที่ความเร็ว 90 มิลลิเมตร ต่อ นาที โดยค่าแรงกดสูงสุดจากการทดสอบเป็นตัวบ่งชี้ความแน่นของผลิตภัณฑ์ โดยค่าที่ได้จากการทดสอบเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สามารถเชื่อมโยงไปถึงสิ่งต่างๆได้ เช่น เวลาในการหุง, เวลาแช่ เป็นต้น
ประโยชน์
•การทดสอบที่ง่ายและรวดเร็วที่ช่วยให้ผู้ผลิตได้ผลการทดสอบที่นำไปใช้ควบคุมคุณภาพของวัตถุดิบ
•สามารถปรับปรุงความสม่ำเสมอและคุณภาพของผลิตภัณฑ์โดยรวมได้
•ผลการทดสอบจะช่วยขจัดการคาดเดาออกจากการปรับเปลี่ยนในการควบคุมกระบวนการผลิต